เดือดร้อนเรื่องเงิน แนะนำสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจ กรณีได้รับผลกระทบจากโควิด – 19
สารบัญ
คงเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจและทุกข์ใจไม่น้อยโดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ ที่ขณะนี้การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ บางแห่งต้องหยุดไม่มีรายได้ เดือดร้อนเรื่องเงินไปตาม ๆ กัน แต่ถึงกระนั้นภาครัฐไม่นิ่งนอนใจจึงปล่อยมาตรการช่วยเหลืออย่าง “สินเชื่อฟื้นฟู” สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจ กรณีได้รับผลกระทบจากโควิด – 19 ให้เข้าถึงเงินก้อนอย่างเท่าเทียม
เหตุผลที่ต้องปล่อยมาตรการช่วยเหลือ “สินเชื่อฟื้นฟู” ?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการแพร่ระบาดของโควิด – 19 มีมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว จนถึงขณะนี้ปี 2565 (2022) ก็ยังไม่สามารถจัดการได้ ภาครัฐ อย่าง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เห็นใจกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด – 19 จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือ“สินเชื่อฟื้นฟู” ขึ้น เพื่อช่วยสร้างสภาพคล่องทางการเงินให้ โดยที่จะให้กู้ยืมกับสถาบันการเงินหรือธนาคารต่าง ๆ ที่เข้าร่วม ทั้งนี้ วงเงินสินเชื่อจะไม่สามารถนำมาผ่อนจ่ายหนี้เดิมที่มีกับสถาบันการเงินหรือธนาคารที่กู้ยืมได้ โดยให้สถาบันการเงินหรือธนาคารแห่งละไม่เกิน 500 ล้านบาท
มาตรการของ “สินเชื่อฟื้นฟู” ที่ต้องศึกษาก่อนตัดสินใจสมัคร
สินเชื่อฟื้นฟู สินเชื่อเพื่อธุรกิจนี้จะได้รับวงเงินจากการขอสินเชื่อแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มลูกหนี้ใหม่ขอกู้ได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท และกลุ่มลูกหนี้เดิมที่ขอกู้ได้ไม่เกิน 30% ของวงเงินในแต่ละธนาคาร แต่ไม่เกิน 150 ล้านบาท ระยะเวลาสินเชื่อจะอญู่ที่สูงสุดไม่เกิน 5 ปี (60 เดือน) ดอกเบี้ยสินเชื่อกำหนดให้ต่อปีไม่เกิน 5% ทั้งนี้ ใน 2 ปีแรกจะคิดดอกเบี้ยให้ต่อปีเกิน 2% (6 เดือนแรกภาครัฐช่วยจ่ายดอกเบี้ยให้)
คุณสมบัติผู้ประกอบการที่ต้องการ “สินเชื่อฟื้นฟู” 2565 (2022)
สินเชื่อฟื้นฟู หรือสินเชื่อฟื้นฟู ธปท สามารถสมัครผ่านออนไลน์กับเว็บไซต์สถาบันการเงินหรือธนาคารต่าง ๆ ได้ โดยผู้ที่อยากสมัครต้องมีเงื่อนไข ได้แก่
- วงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือธนทคารรวมแล้วไม่เกิน 500 ล้านบาท
- เป็นบุคคลธรรมดาก็ดี หรือนิติบุคคลก็ดี แต่ต้องมีธุรกิจในประเทศไทย
- ต้องไม่เป็นบริษัทที่มีการจดทะเบียนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว้นแต่ที่จดใน MAI
- ต้องไม่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน
- ต้องไม่เป็นลูกหนี้ที่มีสินทรัพย์ชั้นสงสัย สินทรัพย์จัดชั้นสูญ สินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน หรือนทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ
อย่างไรก็ตาม สินเชื่อฟื้นฟู สินเชื่อธุรกิจนี้จะมีการจ่ายค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับ บสย. หรือการค้ำประกันที่จ่ายให้บริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อย ต่อปีของวงเงินที่ค้ำประกันคิดเป็น 1.745% โดยที่กระทรวงการคลังจะร่วมจ่ายดอกเบี้ยให้ปีที่ 3 – 7 รวมแล้วต่อวงเงินที่ค้ำประกันคิดเป็น 3.5% หากผิดนัดหรือค้างผ่อนจ่ายไม่ต้องกังวลเพราะไม่มีค่าธรรมเนียมดอกเบี้ยผิดนัดให้ แต่อาจจะต้องทำเรื่องฟ้องศาลได้ ดังนั้น ผ่อนจ่ายสม่ำเสมอไว้เป็นทางที่ดีที่สุด